ข่าวสารประชาสัมพันธ์

THESIS OF THE YEAR AWARD 2020 รางวัลชมเชย จากสมาคมสถาปนิกสยาม


ขอแสดงความยินดีกับ นายสรเลข เกียงตระกูล บัณฑิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรม ได้รับรางวัลโครงการประกวดวิทยานิพนธ์ดีเด่นแห่งปี 2563 (สาขาสถาปัตยกรรมหลัก) THESIS OF THE YEAR AWARD 2020 รางวัลชมเชย จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมชูปถัมภ์ ร่วมกับสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย
ในชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูพื้นที่สูญเปล่า
โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูพื้นที่สูญเปล่า มีแนวคิดจากการมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองด้วยโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (infrastructure) ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบที่เป็นปัญหาตามมาคือมีพื้น รกร้างหรือพื้นที่สูญเปล่าเกิดขึ้นหลายแห่ง ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่ามาก ซึ่งพื้นที่สูญเปล่าเหล่านี้ก็ได้แตกปัญหาออกมาด้วยเช่นกัน โดยพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างหลากหลายตามกายภาพของบริบทที่แตกต่างกันแต่ละพื้นที่โครงการ การศึกษาทำให้ค้นพบเกณฑ์และแนวทางในการแก้ปัญหาได้หลายๆอย่างพร้อมกันในพื้นที่ด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาเชิงสถาปัตยกรรม (architectural design solution)
เกณฑ์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมเพื่อฟื้นฟูพื้นที่สูญเปล่า
Light for space สถาปัตยกรรมเป็นแสงสว่างให้กับพื้นที่สูญเปล่านั้นๆได้ทั้งการนำแสงธรรมชาติเข้ามาแสงประดิษฐ Healing space สามารถสร้างคุณภาพบรรยากาศและสุขภาพที่ดีต่อผู้ใช้งานพื้นที่ได้
Observe space สถาปัตยกรรมสามารถดูแลความปลอดภัยซึ่งกันและกันระหว่างอาคารหรือภายในอาคารเดียวกันผ่านการใช้งานหรือการมองเห็นจากภายนอกได้
Nature space สถาปัตยกรรมสามารถสอดแทรกพื้นที่สีเขียวให้กับพื้นที่ได้
ประเด็นของการออกแบบโครงการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูพื้นที่สูญเปล่าไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างพื้นที่การใช้งานที่มีรูปแบบการใช้งานที่สมบูรณ์แบบ รูปแบบการใช้งานพื้นที่นั้นมีไว้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้งานให้เพียงพอต่อความต้องการเพื่อการใช้งานพื้นที่ได้เท่านั้น แต่ความสำคัญของโครงการคือสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงพื้นที่สูญเปล่านั้นให้มีคุณภาพ บรรยากาศและกายภาพของบริบทและประโยชน์การใช้งานพื้นที่ของพื้นที่โครงการให้ดีขึ้นได้ และช่วยกระจายพื้นที่สาธารณะใหญ่ออกมาสู่พื้นที่สูญเปล่าเพื่อลดความหนาแน่ในการเข้าถึงด้วย แนวคิดของโครงการนี้เป็นการทดลองการแก้ปัญหาเชิงสถาปัตยกรรมซึ่งเกณฑ์ที่เกิดขึ้นอาจสามารถใช้งานในพื้นที่อื่นๆลักษณะเดียวกันได้ หรือแนวทางให้เกิดการใช้งานพื้นที่สูญเปล่ารูปแบบอื่นๆต่อไป

ที่มา : สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ