เรียนรู้สถาปัตยกรรมชุมชนจากการทัศนศึกษาชุมชน 





วิชาสถาปัตยกรรมชุมชน นอกเหนือจากการเรียนรู้ในชั้นเรียนแล้ว การทัศนศึกษาชุมชนก็เป็นเครื่องมืออีกประการหนึ่งในการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการชุมชน โดยในวันที่ 30 มกราคม 2567 ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้นำนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และอาจารย์เข้าศึกษาเยี่ยมชม วัดกัลยาณมิตร ศาลเจ้าเกียนอันเกง วัดซางตาครู้ส และพิพิธภัณฑ์ชุมชนกุฎีจีน ที่เป็นชุมชนเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ พื้นที่แห่งนี้ถูกเรียกอีกชื่อว่า ชุมชน 3 ศาสนา 4 วัฒนธรรม ที่ประกอบด้วย ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม และ 4 วัฒนธรรมคือ วัฒนธรรมไทย จีนฮกเกี้ยน โปรตุเกส และมุสลิม ในการทัศนศึกษาในครั้งนี้จะเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชุมชนที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมของวัฒนธรรมในชุมชน และงานสถาปัตยกรรม จาก อ.ดร.ปรียานุช คำสนอง และ อ.ดร.ศาสตรา ศรีหาภาค ร่วมกับคุณบุณยนิธย์ สิมะเสถียร วิทยากรและผู้ดูแลศาลเจ้าเกียนอันเกง หรือศาลเจ้าแม่กวนอิม ทำให้นักศึกษาเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ การบริหารจัดการอาคารสถานที่ ในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นการจัดการโดยชุมชน การจัดการโดยเอกชน หรือการจัดการเจ้าของสถานที่ ที่ประสบความสำเร็จ หรือประสบปัญหาในรูปแบบต่างๆ ที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการออกแบบและจัดการงานสถาปัตยกรรมชุมชน ในอันที่สามารถไปประยุกต์ใช้ในการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรมชุมชนต่อไป