เปิดรับบทความ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เพื่อตีพิมพ์ในวารสารของเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2566

ขอเชิญร่วมส่งบทความ”CALL FOR PAPER “วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร Journal of the Faculty of Architecture and Design RMUTPเปิดรับบทความ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เพื่อตีพิมพ์ในวารสารของเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2566 เปิดรับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง 15 เมษายน 2566 นี้ค่ะ วารสารทางด้านสถาปัตยกรรม และการออกแบบ มีผู้ทรงคุณวุฒิ(reviewer) ที่เชี่ยวชาญหลากหลายสถาบันดังที่ให้เกียติอ่านบทความให้กับวารสาร 1 บทความมีผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านขึ้นไปค่ะ #นึกถึงวารสารตีพิมพ์ทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบอย่าลืมนึกถึงเรานะคะJFADขอต้อนรับและดูแลทุกท่านเป็นอย่างดีด้วยความจริงใจค่ะ

ส่งตามลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JFAD


ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบเพื่อสร้างอาชีพให้แก่ผู้พิการ

“อบรมสร้างรายได้ให้แก่ผู้พิการ” คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยงานบริการวิชาการ ได้ดำเนินการจัด “โครงการสร้างนักออกแบบกราฟิกในผู้พิการท่อนล่าง เพื่อเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้” โดยเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบในเบื้องต้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในการสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และครอบครัวต่อไป โดยในการนี้ทางคณะได้แบ่งกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้เป็นจำนวน 4 กิจกรรม ดังนี้

1. การสร้างลายกราฟิกบนผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า (Creating Graphic Designs on Products to Increase Value)
2. การออกแบบโครงสร้างและกราฟิกบรรจุภัณฑ์ (Sturcture and Graphic of Package Design)
3. เขียนแบบกราฟิกเพื่อการนำเสนอด้านสถาปัตยกรรม (Graphic Drawing for Architectural Presentations)
4. การสร้างสรรค์สบู่ทำมือเพื่อส่งเสริมอาชีพ (Creating Handmade Soap to Promote as a Career)

โดยในการจัดโครงการในครั้งนี้ มีอาจารย์และนักศึกษาผู้พิการ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ จังหวัดหนองคาย สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 90 คน ซึ่งถือว่าเกินจากกลุ่มเป้าหมายไปเป็นจำนวนมาก โครงการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 22 พฤศจิกายน 2562 ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ จังหวัดหนองคาย

โดยผู้สนใจสามารถเข้าศึกษาเล่มคู่มืองานบริการวิชาการได้ที่ งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ http://arch.rmutp.ac.th/km/?page_id=215

ที่มา : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

ต่อยอดความสำเร็จเรียนรู้ควบคู่บูรณาการ จากการวางผังบริเวณ วัดพระธาตุบังพวน สู่อลงกรณ์ฟาร์ม จ.เพชรบุรี

ที่มา : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร

จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนของทางคณะโดย นายธานี  สุคนธะชาติ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จากการเรียนการสอนรูปแบบการรับความรู้จากทางด้านเดียว สู่การเรียนรู้ที่นำเอาโจทย์จากสภาพปัญหาจริงของชุมชนในสถานที่ต่าง ๆ เข้าสู่บทเรียนของนักศึกษา

อ่านบทความ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อบูรณาการแนวคิดการศึกษา สู่การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ณ นครเวียงจันทน์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นำโดย อาจารย์ธานี สุคนธะชาติ คณบดีคณะสถาปัตยฯ พร้อมด้วยอาจารย์และนักศึกษา เดินทางไปยังคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อบูรณาการแนวคิดการศึกษา สู่การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของทั้งสองคณะ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะทางด้านวิชาชีพ และเป็นการต่อยอดความรู้สู่การพัฒนายกระดับสินค้า OTOP และ ODOP นอกจากนั้นยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาของทั้ง 2 ประเทศ ในการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์เบื้องต้น ระหว่างวันที่ 21 – 22 กุมภาพันธ์ 2560 ณ.นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ภาพบรรยากาศ


ส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้หลักของการบูรณาการ และการจัดการความรู้ “การวางผังบริเวณ อลงกรณ์ฟาร์ม จ.เพชรบุรี”

ที่มา : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

…… คลิกเพื่ออ่านบทความ

กิจกรรม “การวางผังบริเวณ อลงกรณ์ฟาร์ม อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี”

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร ได้นำหลักการจัดการความรู้ในรูปแบบของกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่การเรียนการสอนในรูปแบบของการบูรณาการ กับกิจกรรม”การวางผังบริเวณ อลงกรณ์ฟาร์ม อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี” ถือเป็นหนึ่งในการประยุกต์ใช้โจทย์จากสถานที่จริง มาสู่รูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน ตลอดจนการลงพื้นที่จริงในชั้นตอนสุดท้ายของกิจกรรม เป็นการพัฒนาทักษะรอบด้าน ในกับตัวของนักศึกษา อาทิเช่น ด้านวิชาชีพ การสอบถามข้อมูลจากสถานที่จริง ตลอดจนทักษะในการนำเสนอแบบงานให้กับผู้ประกอบการจริง

โดยในทุกส่วนของการทำกิจกรรม ได้มีการนำ KM TOOL มาใช้ประกอบในการดำเนินงานของนักศึกษาไม่ว่าจะเป็น

  • ชุมชนนักปฏิบัติ Community of practice
  • การศึกษาดูงาน (Study tour)
  • การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน : After action review
  • การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ : Retrospect
  • เวทีเสวนา : Dialogue
  • การค้นหาสิ่งดีๆรอบๆตัว : Appreciative Inquiring
  • เพื่อนช่วยเพื่อน : Peer Assist
  • Action Learning การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
  • Mentoring การเป็นพี่เลี้ยง
  • บทเรียนจากความผิดพลาด : Lesson Learned

KM TOOL ที่นำมาใช้เหล่านี้ประกอบขึ้นมาเป็น กิจกรรมการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้หลักของการบูรณาการ และการจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มทักษะให้กับตัวนักศึกษาเพื่อก้าวสู่ความเป็นบัณฑิตมืออาชีพ