ที่มาบทความ : งานสื่อสารองค์กร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
Category: บทความบูรณาการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานการเรียนออกแบบด้วยระบบ BIM Technology
เพิ่มความเชื่อมั่นในหลักสูตรอย่างต่อเนื่องโดย สภาสถาปนิก
กว่า 20 ปี ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ เน้นสร้างกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ สร้างคนให้ตรงกับงาน ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ เชี่ยวชาญด้านดีไซน์ด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) ที่ทันสมัย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย พร้อมเพิ่มความเชื่อมั่นในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) ที่ได้ผ่านการประเมิณหลักสูตรโดยสภาสถาปนิก (Architect Council Of Thailand)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชา พิจักขณา คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร กล่าวว่า ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เปิดการสอนทั้งหมด 3 สาขา 1.สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีการพิมพ์ (หลักสูตร 4 ปี) 2.สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (หลักสูตร 4 ปี) และ 3.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตร 5 ปี) ทั้ง 3 สาขาของเรามุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ เน้นสร้างกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย นอกจากนี้เรายังเน้นในการเรียนรู้และฝึกทักษะเชิงปฏิบัติกับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทตามความสนใจ ที่จะสร้างประสบการณ์ทำงานจริง 1 ปี เพื่อสร้างนักออกแบบให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการมากให้ที่สุด และมีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ (Start up) หรือสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองต่อไป
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สาขาสถาปัตยกรรมของเรา ได้รับการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองปริญญาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยมีรายนามคณะกรรมการจากสภาสถาปนิก ได้แก่ คุณชาติชาย อัศวสุขี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายทิวา รามสูต, ดร.ศรุติ โพธิ์ไทร, อาจารย์ภาวิน สุทธินนท์ และ อาจารย์กรรณิกา สงวนสินธุกุล ซึ่งเป็นการรับรองหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาสถาปนิก ในเบื่องต้นกรรมการแจ้งผลการตรวจว่าผ่านมาตรฐาน ซึ่งจะรอประกาศผลอย่างเป็นทางการต่อไป
ด้าน ดร.ศาสตรา ศรีหาภาค หัวหน้าสาชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับรองหลักสูตรนั้นเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาสถาปนิก และเมื่อศึกษาจบในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกได้อย่างเต็มตัว และเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ได้รับมาตรฐาน ให้กับผู้ที่จะเข้ามาศึกษาต่อซึ่งการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองปริญญาบัตรในครั้งนี้ โดยมีหลักเกณฑ์การตรวจประเมินหลักสูตรฯ 7 หัวข้อ ดังนี้ ภาพรวมความสำเร็จของหลักสูตร-การจัดการเรียนการสอน-ผลของงานของนักศึกษา-ภาพรวมรายหมวดวิชา-ผลสำเร็จของบัณฑิต-อาจารย์และการบริหารจัดการ-อุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนการศึกษา
ทั้งนี้ สาขาสถาปัตยกรรมเรายังมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้ทันยุคทันสมัยและเตรียมความพร้อมแก่บัณฑิตสู่ตลาดงานในยุคปัจจุบัน โดยการนำเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยอย่าง BIM (Building Information Modeling) เพื่อที่จะบูรณาการการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของการออกแบบและก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรม ลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อน ลดความขัดแย้ง และลดปัญหาอันเกิดมาจากข้อมูลที่ผิดผลาด อันเกิดขึ้นจากกระบวนการการทำงานในลักษณะเดิม เป็นกระบวนการที่เข้ามามีบทบาทในวงการก่อสร้างตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการก่อสร้างอาคารในปัจจุบันอีกด้วย
ถ่ายทอดองค์ความรู้แบบโมเดล สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ในรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
ผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
โดยให้นักศึกษาเลือกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ (สถาปัตยกรรมล้านนา) มาศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่ว่างทางสถาปัตยกรรม วิํธีการก่อสร้าง โดยนำเสนอในรูปแบบหุ่นจำลอง และการนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ต่อยอดความสำเร็จเรียนรู้ควบคู่บูรณาการ จากการวางผังบริเวณ วัดพระธาตุบังพวน สู่อลงกรณ์ฟาร์ม จ.เพชรบุรี
ที่มา : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร
จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนของทางคณะโดย นายธานี สุคนธะชาติ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จากการเรียนการสอนรูปแบบการรับความรู้จากทางด้านเดียว สู่การเรียนรู้ที่นำเอาโจทย์จากสภาพปัญหาจริงของชุมชนในสถานที่ต่าง ๆ เข้าสู่บทเรียนของนักศึกษา
ส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้หลักของการบูรณาการ และการจัดการความรู้ “การวางผังบริเวณ อลงกรณ์ฟาร์ม จ.เพชรบุรี”
ที่มา : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
ส่วนหนึ่งในกิจกรรมสร้างสรรค์ “ราชมงคลพระนคร คิด(ส์)ดี ทำดี…เพื่อพ่อ” กับการบูรณาการสานงานศิลป์
ที่มา : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมสร้างสรรค์ “ราชมงคลพระนคร คิด(ส์)ดี ทำดี…เพื่อพ่อ” ซึ่งเป็นโครงการที่ รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร จัดขึ้นเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยคณะผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษาทั้ง 9 คณะ
โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้นำหลักการบูรณาการความรู้จากรายวิชาการพิมพ์ซิลค์สกรีน ของอาจารย์ธานี สุคนธะชาติ สู่นักศึกษา และจากนักศึกษาสู่ประชาชนที่เข้ารับบริการที่บูธ โดยจัดบูธ “สกรีนเสื้อฟรี..ทำดีเพื่อพ่อหลวง”โดยเปิดรับสกรีนเสื้อเพื่อถวายความอาลัยให้แก่บุคคลภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านการสกรีนเสื้อ ให้แก่ผู้ที่สนใจเพื่อนำไปต่อยอดในด้านการประกอบอาชีพ โดยมีผู้ที่สนใจลงทะเบียนเพื่อรับบริการสกรีนเสื้อเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ภายในคณะยังได้มีการบูรณาการความรู้จากรายวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ เทคนิคการวาดเส้น และเทคนิคการลงสี สู่ผลงานศิลปะรูปวาดพ่อหลวง…เพื่อเทิดพระเกรียรติ ซึ่งเป็นผลงานของนักศึกษาจาก ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยการสอนของ อาจารย์ยุวดี พรธาราพงศ์ และอาจารย์คณิต อยู่สมบูรณ์
ภาพจากบทความ