Tag: 2566
บูรณาการการเรียนการสอนข้ามศาสตร์และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์
สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีการพิมพ์ ปรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นการเรียนที่เป็นรูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอนข้ามศาสตร์และกิจกรรมการแลกเปลี่ยยนรเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ และสาขาวิชาการตลาด ระดับชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 3 • การสื่อสารการตลาด • คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ฯ 2 เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์รูปแบบบรรจุภัณฑ์ โดยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยมี อาจารย์ ดร.ธานี สุคนธะชาติ, อาจารย์ ดร.สุรภา วงศ์สุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ และ อาจารย์ วิรัลพัชร อสัมภินพงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มทร.พรนคร เป็นอาจารย์ประจำรายวิชาและผู้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมฯ
ที่มา : Facebook สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีการพิมพ์
คณะสถาปัตย์ฯ มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานการเรียนออกแบบด้วยระบบ BIM Technology
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานการเรียนออกแบบด้วยระบบ BIM Technology
เพิ่มความเชื่อมั่นในหลักสูตรอย่างต่อเนื่องโดย สภาสถาปนิก
กว่า 20 ปี ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ เน้นสร้างกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ สร้างคนให้ตรงกับงาน ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ เชี่ยวชาญด้านดีไซน์ด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) ที่ทันสมัย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย พร้อมเพิ่มความเชื่อมั่นในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) ที่ได้ผ่านการประเมิณหลักสูตรโดยสภาสถาปนิก (Architect Council Of Thailand)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชา พิจักขณา คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร กล่าวว่า ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เปิดการสอนทั้งหมด 3 สาขา 1.สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีการพิมพ์ (หลักสูตร 4 ปี) 2.สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (หลักสูตร 4 ปี) และ 3.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตร 5 ปี) ทั้ง 3 สาขาของเรามุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ เน้นสร้างกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย นอกจากนี้เรายังเน้นในการเรียนรู้และฝึกทักษะเชิงปฏิบัติกับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทตามความสนใจ ที่จะสร้างประสบการณ์ทำงานจริง 1 ปี เพื่อสร้างนักออกแบบให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการมากให้ที่สุด และมีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ (Start up) หรือสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองต่อไป
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สาขาสถาปัตยกรรมของเรา ได้รับการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองปริญญาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยมีรายนามคณะกรรมการจากสภาสถาปนิก ได้แก่ คุณชาติชาย อัศวสุขี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายทิวา รามสูต, ดร.ศรุติ โพธิ์ไทร, อาจารย์ภาวิน สุทธินนท์ และ อาจารย์กรรณิกา สงวนสินธุกุล ซึ่งเป็นการรับรองหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาสถาปนิก ในเบื่องต้นกรรมการแจ้งผลการตรวจว่าผ่านมาตรฐาน ซึ่งจะรอประกาศผลอย่างเป็นทางการต่อไป
ด้าน ดร.ศาสตรา ศรีหาภาค หัวหน้าสาชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับรองหลักสูตรนั้นเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาสถาปนิก และเมื่อศึกษาจบในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกได้อย่างเต็มตัว และเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ได้รับมาตรฐาน ให้กับผู้ที่จะเข้ามาศึกษาต่อซึ่งการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองปริญญาบัตรในครั้งนี้ โดยมีหลักเกณฑ์การตรวจประเมินหลักสูตรฯ 7 หัวข้อ ดังนี้ ภาพรวมความสำเร็จของหลักสูตร-การจัดการเรียนการสอน-ผลของงานของนักศึกษา-ภาพรวมรายหมวดวิชา-ผลสำเร็จของบัณฑิต-อาจารย์และการบริหารจัดการ-อุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนการศึกษา
ทั้งนี้ สาขาสถาปัตยกรรมเรายังมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้ทันยุคทันสมัยและเตรียมความพร้อมแก่บัณฑิตสู่ตลาดงานในยุคปัจจุบัน โดยการนำเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยอย่าง BIM (Building Information Modeling) เพื่อที่จะบูรณาการการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของการออกแบบและก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรม ลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อน ลดความขัดแย้ง และลดปัญหาอันเกิดมาจากข้อมูลที่ผิดผลาด อันเกิดขึ้นจากกระบวนการการทำงานในลักษณะเดิม เป็นกระบวนการที่เข้ามามีบทบาทในวงการก่อสร้างตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการก่อสร้างอาคารในปัจจุบันอีกด้วย
ที่มาบทความ : งานสื่อสารองค์กร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
เปิดรับบทความ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เพื่อตีพิมพ์ในวารสารของเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2566
ขอเชิญร่วมส่งบทความ”CALL FOR PAPER “วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร Journal of the Faculty of Architecture and Design RMUTPเปิดรับบทความ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เพื่อตีพิมพ์ในวารสารของเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2566 เปิดรับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง 15 เมษายน 2566 นี้ค่ะ วารสารทางด้านสถาปัตยกรรม และการออกแบบ มีผู้ทรงคุณวุฒิ(reviewer) ที่เชี่ยวชาญหลากหลายสถาบันดังที่ให้เกียติอ่านบทความให้กับวารสาร 1 บทความมีผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านขึ้นไปค่ะ #นึกถึงวารสารตีพิมพ์ทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบอย่าลืมนึกถึงเรานะคะJFADขอต้อนรับและดูแลทุกท่านเป็นอย่างดีด้วยความจริงใจค่ะ
ส่งตามลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JFAD
ถ่ายทอดองค์ความรู้แบบโมเดล สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ในรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
ผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
โดยให้นักศึกษาเลือกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ (สถาปัตยกรรมล้านนา) มาศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่ว่างทางสถาปัตยกรรม วิํธีการก่อสร้าง โดยนำเสนอในรูปแบบหุ่นจำลอง และการนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์