คณะสถาปัตย์ฯ มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานการเรียนออกแบบด้วยระบบ BIM Technology


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานการเรียนออกแบบด้วยระบบ BIM Technology
เพิ่มความเชื่อมั่นในหลักสูตรอย่างต่อเนื่องโดย สภาสถาปนิก
          กว่า 20 ปี ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ เน้นสร้างกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ สร้างคนให้ตรงกับงาน ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ เชี่ยวชาญด้านดีไซน์ด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) ที่ทันสมัย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย พร้อมเพิ่มความเชื่อมั่นในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) ที่ได้ผ่านการประเมิณหลักสูตรโดยสภาสถาปนิก (Architect Council Of Thailand)
       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชา พิจักขณา คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร กล่าวว่า ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เปิดการสอนทั้งหมด 3 สาขา 1.สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีการพิมพ์ (หลักสูตร 4 ปี) 2.สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (หลักสูตร 4 ปี) และ 3.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตร 5 ปี) ทั้ง 3 สาขาของเรามุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ เน้นสร้างกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย นอกจากนี้เรายังเน้นในการเรียนรู้และฝึกทักษะเชิงปฏิบัติกับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทตามความสนใจ ที่จะสร้างประสบการณ์ทำงานจริง 1 ปี เพื่อสร้างนักออกแบบให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการมากให้ที่สุด และมีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ (Start up) หรือสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองต่อไป
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สาขาสถาปัตยกรรมของเรา ได้รับการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองปริญญาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยมีรายนามคณะกรรมการจากสภาสถาปนิก ได้แก่ คุณชาติชาย อัศวสุขี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายทิวา รามสูต, ดร.ศรุติ โพธิ์ไทร, อาจารย์ภาวิน สุทธินนท์ และ อาจารย์กรรณิกา สงวนสินธุกุล ซึ่งเป็นการรับรองหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาสถาปนิก ในเบื่องต้นกรรมการแจ้งผลการตรวจว่าผ่านมาตรฐาน ซึ่งจะรอประกาศผลอย่างเป็นทางการต่อไป
       ด้าน ดร.ศาสตรา ศรีหาภาค หัวหน้าสาชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับรองหลักสูตรนั้นเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาสถาปนิก และเมื่อศึกษาจบในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกได้อย่างเต็มตัว และเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ได้รับมาตรฐาน ให้กับผู้ที่จะเข้ามาศึกษาต่อซึ่งการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองปริญญาบัตรในครั้งนี้ โดยมีหลักเกณฑ์การตรวจประเมินหลักสูตรฯ 7 หัวข้อ ดังนี้ ภาพรวมความสำเร็จของหลักสูตร-การจัดการเรียนการสอน-ผลของงานของนักศึกษา-ภาพรวมรายหมวดวิชา-ผลสำเร็จของบัณฑิต-อาจารย์และการบริหารจัดการ-อุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนการศึกษา
       ทั้งนี้ สาขาสถาปัตยกรรมเรายังมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้ทันยุคทันสมัยและเตรียมความพร้อมแก่บัณฑิตสู่ตลาดงานในยุคปัจจุบัน โดยการนำเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยอย่าง BIM (Building Information Modeling) เพื่อที่จะบูรณาการการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของการออกแบบและก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรม ลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อน ลดความขัดแย้ง และลดปัญหาอันเกิดมาจากข้อมูลที่ผิดผลาด อันเกิดขึ้นจากกระบวนการการทำงานในลักษณะเดิม เป็นกระบวนการที่เข้ามามีบทบาทในวงการก่อสร้างตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการก่อสร้างอาคารในปัจจุบันอีกด้วย

ที่มาบทความ : งานสื่อสารองค์กร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

บทความ : จำปาลาว On The Beach Project กับการบูรณาการวิชาชีพของบัณฑิตนักปฏิบัติสองแผ่นดินสู่มหาวิทยาลัยดิจิตอล

ที่มา : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้จัดโครงการค่ายนักออกแบบสายสัมพันธ์อาเซียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่บูรณาการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือเรียกชื่อย่อสั้น ๆ ว่า“ Workshop 3 จำปาลาว On the beach ” ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยความร่วมมือกับทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งในปีนี้ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 19 สิงหาคม 2559 ณ ชื่นวารินทร์รีสอร์ท อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

โครงการของทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จัดโดยการใช้หลักการบูรณาการ ซึ่งในการจัดโครงการครั้งนี้ได้มีการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายของทางอธิการบดี ที่จะให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำทางด้านดิจิตอล จึงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านการออกแบบกราฟฟิกผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงการนำเสนอผลงานการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม ด้วยการนำเสนอแบบ ARCHITECTURAL PRESENTATION 3D ANIMATION และมีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ตลอดทั้งโครงการโดยการถ่ายทำของทางคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เพื่อเป็นการพัฒนามาตรฐานทางการออกแบบโดยโปรแกรมการออกแบบ เพื่อเป็นการยกระดับของบัณฑิตนักปฏิบัติให้ก้าวทันเทคโนโลยีทางด้านการออกแบบ และเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการในสภาพสังคมยุคดิตอลที่เน้นการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ

นักศึกษาที่เข้าร่วมในโครงการครั้งนี้จะได้รับประสบการณ์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และสถาปัตยกรรม จากโจทย์จากสภาพปัญหาจริงในชุมชนของทางจังหวัดระยอง หนองคาย และเพชรบุรี รวมถึงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านโปรแกรมการออกแบบกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และยังเป็นการสร้างเครื่อข่ายระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เพื่อการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ต่อไป

ภาพจากบทความ

บทความ : บัณฑิตมืออาชีพด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรม

นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ บัณฑิตมืออาชีพด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรม

โดย : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นุ้งเน้นพัฒนาด้านการเรียนการสอนโดยการใช้หลักการบูรณาการแบบเต็มรูปแบบเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นเรียน โดยการนำโจทย์จากสภาพปัญหาจริงในชุมชนรอบพื้นที่ในความรับผิดชอบของทางมหาวิทยาลัย รวมถึงชุมชนในจังหวัดที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ลงนามความร่วมมือ MOU เช่น จังหวัดหนองคาย จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

ซึ่งในภาคการศึกษา 2/2559 สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสาขาวิชาสถาปัตยกรรม ได้มีการนำโจทย์จากสภาพปัญหาจริงจากผู้ประกอบการในจังหวัดหนองคาย เข้ามามีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยการนำผลิตภัณฑ์ OTOP มาเป็นโจทย์ให้นักศึกษาได้ทำการออกแบบพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับสินค้าสู่สากล โดยจากการลงมือปฏิบัติด้านการออกแบบนักศึกษาจะได้ติดต่อเพื่อเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการเพื่อสอบถามถึงความต้องการและลักษณะของบรรจุภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อแนะนำของผู้ประกอบการ เปรียบเสมือนนักศึกษาเป็นนักออกแบบที่รับงานจริงมาดำเนินการ โดยมีอาจารย์เป็นเพียงผู้ที่คอยให้คำแนะนำเท่านั้น

นักศึกษากับการทำหน้าที่วิทยากรต้นกล้าใหม่ด้านการออกแบบ : จากการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าวทำให้ “นักศึกษา” ได้รับการคัดเลือกให้เข้าไปเป็นวิทยากรใน โครงการ “ Creative Quality Development ” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นโดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  โดยเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ สร้างมาตรฐาน ความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ ให้แก่ผู้ประกอบการ OTOP ทั้วประเทศ 76 จังหวัด โดยทางนักศึกษาได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพร ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลช มหานาค จังหวัดกรุงเทพมหานคร

นักศึกษากับการประกวด OTOP Midyear 2016 : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินโครงการประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์ ระดับจังหวัด โดยจากการประกวดดังกล่าวนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด และได้ผ่านการคัดเลือกผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ โดยได้รับเลือกเป็นตัวแทนจังหวัดหนองคาย เข้าร่วมประกวดในงาน OTOP Midyear 2016 สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 6-13 มิถุนายน 2559 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี โดย มีนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดเข้าแข่งขัน ดังนี้ นางสาวมานิตา สิงหาสนธิบุตร ,นางสาวชุติมณฑน์ อุดมทิตรัชต์ ,นางสาวภารดี อารยะกุล ,นางสาวชญาณี แหยมเจริญ ,นางสาวกนกนาท ทรัพย์พาณิช

ซึ่งในการประกวด OTOP Midyear 2016 ระดับประเทศ นางสาวชุติมณฑน์ อุดมทิตรัชต์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้รับรางวัลประเภทผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 บรรจุภัณฑ์น้ำฟักข้าว

ภาพจากบทความ