Tag: การจัดการความรู้
นายธานี สุคนธะชาติ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ และนายศิรวัชร์ พัฒคุ้ม ได้เข้าร่วมในกิจกรรม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ” ใน COP 3 การบริการวิชาการ : แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง” ภายในการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ราชมงคล+2 มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้(Knowledge Management to Learning Organization : KM to LO ณ โรงแรมเอวัน เดอะ รอยัล ครูส พัทยา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา
คว้ารางวัลการประกวดโครงการการจัดการความรู้ ประจำปี 2560 ประเภท นักศึกษา “นวัตกรรมและเทคโนโลยีชุมชน”
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร โดยงานการจัดการความรู้ สถอ. ได้เตรียมทีมและจัดส่งนักศึกษาเข้าประกวดโครงการการจัดการความรู้ โดยนักศึกษาที่เข้าร่วม ดังนี้
- นายกวินท์ อิสสระวาณิชย์
- นายคมชาญ โชติวรอนันต์
- นางสาวชญานี แหยมเจริญ
โดยทีมนักศึกษาจากคณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร รับรางวัลเหรียญเงินในกลุ่มนักศึกษา เรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมชุมชนคู่บูรณาการความรู้สู่สังคมเพื่อสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนระหว่างประเทศบนพื้นฐานความพอเพียง” โดยมีผู้ให้คำปรึกษาในการดำเนินโครงการและเตรียมทีม ดังนี้
- นายธานี สุคนธะชาติ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตาร์และการออกแบบ
- นายศิรวัชร์ พัฒคุ้ม
โดยเข้าร่วมประกวด ในการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ราชมงคล+2 มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้(Knowledge Management to Learning Organization : KM to LO ณ โรงแรมเอวัน เดอะ รอยัล ครูส พัทยา จังหวัดชลบุรี
ภาพบรรยากาศ
บทความ : บัณฑิตมืออาชีพด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรม
นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ บัณฑิตมืออาชีพด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรม
โดย : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นุ้งเน้นพัฒนาด้านการเรียนการสอนโดยการใช้หลักการบูรณาการแบบเต็มรูปแบบเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นเรียน โดยการนำโจทย์จากสภาพปัญหาจริงในชุมชนรอบพื้นที่ในความรับผิดชอบของทางมหาวิทยาลัย รวมถึงชุมชนในจังหวัดที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ลงนามความร่วมมือ MOU เช่น จังหวัดหนองคาย จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
ซึ่งในภาคการศึกษา 2/2559 สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสาขาวิชาสถาปัตยกรรม ได้มีการนำโจทย์จากสภาพปัญหาจริงจากผู้ประกอบการในจังหวัดหนองคาย เข้ามามีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยการนำผลิตภัณฑ์ OTOP มาเป็นโจทย์ให้นักศึกษาได้ทำการออกแบบพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับสินค้าสู่สากล โดยจากการลงมือปฏิบัติด้านการออกแบบนักศึกษาจะได้ติดต่อเพื่อเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการเพื่อสอบถามถึงความต้องการและลักษณะของบรรจุภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อแนะนำของผู้ประกอบการ เปรียบเสมือนนักศึกษาเป็นนักออกแบบที่รับงานจริงมาดำเนินการ โดยมีอาจารย์เป็นเพียงผู้ที่คอยให้คำแนะนำเท่านั้น
นักศึกษากับการทำหน้าที่วิทยากรต้นกล้าใหม่ด้านการออกแบบ : จากการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าวทำให้ “นักศึกษา” ได้รับการคัดเลือกให้เข้าไปเป็นวิทยากรใน โครงการ “ Creative Quality Development ” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นโดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ สร้างมาตรฐาน ความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ ให้แก่ผู้ประกอบการ OTOP ทั้วประเทศ 76 จังหวัด โดยทางนักศึกษาได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพร ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลช มหานาค จังหวัดกรุงเทพมหานคร
นักศึกษากับการประกวด OTOP Midyear 2016 : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินโครงการประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์ ระดับจังหวัด โดยจากการประกวดดังกล่าวนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด และได้ผ่านการคัดเลือกผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ โดยได้รับเลือกเป็นตัวแทนจังหวัดหนองคาย เข้าร่วมประกวดในงาน OTOP Midyear 2016 สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 6-13 มิถุนายน 2559 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี โดย มีนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดเข้าแข่งขัน ดังนี้ นางสาวมานิตา สิงหาสนธิบุตร ,นางสาวชุติมณฑน์ อุดมทิตรัชต์ ,นางสาวภารดี อารยะกุล ,นางสาวชญาณี แหยมเจริญ ,นางสาวกนกนาท ทรัพย์พาณิช
ซึ่งในการประกวด OTOP Midyear 2016 ระดับประเทศ นางสาวชุติมณฑน์ อุดมทิตรัชต์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้รับรางวัลประเภทผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 บรรจุภัณฑ์น้ำฟักข้าว
ภาพจากบทความ
เข้าร่วมการประกวด แนวทางการปฏิบัติที่ดีของนักศึกษา “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน”
งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้ส่งนักศึกษาเข้าประกวด. แนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษา ในหัวข้อ ” นวัตกรรมและเทคโนโลยีชุมชน” ในโครงการประชุมสัมมาเครือข่ายการจัดการความรู้ ครั้งที่ 9 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเนื้อหากล่าวได้ตือการพัฒนาเพื่อเศรษฐกิจที่ยั้งยืน เป็นการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตให้กับชุมชนโดยนำองค์ความรู้ของนักศึกษาขับเคลื่อน ในมิติของการสร้างสรรค์การออกแบบให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวยกระดับผลิตภัณฑ์ ชุมชนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้บรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนและนักศึกษาเพื่อให้ชุมชนสามารถขับเคลื่อนแบบพึ่งพาตนเองสู่เศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืนสืบไป
ทั้งนี้ ได้รับรางวัล ประเภทบทความดีเด่นเหรียญทอง ในหัวข้อ โครงการพัฒนานวัตกรรมชุมชนสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนดาวเรื่อง จังหวัดสระบุรี โดยมีนักศึกษาผู้นำเสนอ คือ
- นางสาวทวีทรัพย์ ปั้นอินทร์
- นายคมชาญ โชติวรอนันต์
- นายกวินท์ อิสสระวาณิชย์
ภาพบรรยากาศ