บทความด้านการจัดการความรู้ : ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง

ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษในต่างประเทศ หัวข้อ “Professional Development Training: English as a medium of instruction” จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 25 เมษายน 2568 ณ ประเทศไทย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2568 ณ University of Victoria ประเทศแคนาดา จึงขอสรุปความรู้ที่จะเป็นประโยชน์กับการเรียนการสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ …… (อ่านต่อได้จากลิงค์ด้านล่าง)


http://arch.rmutp.ac.th/km/wp-content/uploads/2025/06/km68_1.pdf

คณะสถาปัตย์ฯ มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานการเรียนออกแบบด้วยระบบ BIM Technology


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานการเรียนออกแบบด้วยระบบ BIM Technology
เพิ่มความเชื่อมั่นในหลักสูตรอย่างต่อเนื่องโดย สภาสถาปนิก
          กว่า 20 ปี ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ เน้นสร้างกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ สร้างคนให้ตรงกับงาน ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ เชี่ยวชาญด้านดีไซน์ด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) ที่ทันสมัย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย พร้อมเพิ่มความเชื่อมั่นในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) ที่ได้ผ่านการประเมิณหลักสูตรโดยสภาสถาปนิก (Architect Council Of Thailand)
       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชา พิจักขณา คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร กล่าวว่า ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เปิดการสอนทั้งหมด 3 สาขา 1.สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีการพิมพ์ (หลักสูตร 4 ปี) 2.สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (หลักสูตร 4 ปี) และ 3.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตร 5 ปี) ทั้ง 3 สาขาของเรามุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ เน้นสร้างกระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย นอกจากนี้เรายังเน้นในการเรียนรู้และฝึกทักษะเชิงปฏิบัติกับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทตามความสนใจ ที่จะสร้างประสบการณ์ทำงานจริง 1 ปี เพื่อสร้างนักออกแบบให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการมากให้ที่สุด และมีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ (Start up) หรือสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองต่อไป
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สาขาสถาปัตยกรรมของเรา ได้รับการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองปริญญาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยมีรายนามคณะกรรมการจากสภาสถาปนิก ได้แก่ คุณชาติชาย อัศวสุขี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายทิวา รามสูต, ดร.ศรุติ โพธิ์ไทร, อาจารย์ภาวิน สุทธินนท์ และ อาจารย์กรรณิกา สงวนสินธุกุล ซึ่งเป็นการรับรองหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาสถาปนิก ในเบื่องต้นกรรมการแจ้งผลการตรวจว่าผ่านมาตรฐาน ซึ่งจะรอประกาศผลอย่างเป็นทางการต่อไป
       ด้าน ดร.ศาสตรา ศรีหาภาค หัวหน้าสาชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับรองหลักสูตรนั้นเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาสถาปนิก และเมื่อศึกษาจบในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกได้อย่างเต็มตัว และเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ได้รับมาตรฐาน ให้กับผู้ที่จะเข้ามาศึกษาต่อซึ่งการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองปริญญาบัตรในครั้งนี้ โดยมีหลักเกณฑ์การตรวจประเมินหลักสูตรฯ 7 หัวข้อ ดังนี้ ภาพรวมความสำเร็จของหลักสูตร-การจัดการเรียนการสอน-ผลของงานของนักศึกษา-ภาพรวมรายหมวดวิชา-ผลสำเร็จของบัณฑิต-อาจารย์และการบริหารจัดการ-อุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนการศึกษา
       ทั้งนี้ สาขาสถาปัตยกรรมเรายังมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้ทันยุคทันสมัยและเตรียมความพร้อมแก่บัณฑิตสู่ตลาดงานในยุคปัจจุบัน โดยการนำเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยอย่าง BIM (Building Information Modeling) เพื่อที่จะบูรณาการการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของการออกแบบและก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรม ลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อน ลดความขัดแย้ง และลดปัญหาอันเกิดมาจากข้อมูลที่ผิดผลาด อันเกิดขึ้นจากกระบวนการการทำงานในลักษณะเดิม เป็นกระบวนการที่เข้ามามีบทบาทในวงการก่อสร้างตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการก่อสร้างอาคารในปัจจุบันอีกด้วย

ที่มาบทความ : งานสื่อสารองค์กร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

ถ่ายทอดองค์ความรู้แบบโมเดล สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ในรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

? ผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
โดยให้นักศึกษาเลือกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ (สถาปัตยกรรมล้านนา) มาศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่ว่างทางสถาปัตยกรรม วิํธีการก่อสร้าง โดยนำเสนอในรูปแบบหุ่นจำลอง และการนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การเรียนรู้ภูมิปัญญาการจักสานใบลานและการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ

ต่อยอดความสำเร็จเรียนรู้ควบคู่บูรณาการ จากการวางผังบริเวณ วัดพระธาตุบังพวน สู่อลงกรณ์ฟาร์ม จ.เพชรบุรี

ที่มา : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร

จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนของทางคณะโดย นายธานี  สุคนธะชาติ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จากการเรียนการสอนรูปแบบการรับความรู้จากทางด้านเดียว สู่การเรียนรู้ที่นำเอาโจทย์จากสภาพปัญหาจริงของชุมชนในสถานที่ต่าง ๆ เข้าสู่บทเรียนของนักศึกษา

อ่านบทความ

ส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้หลักของการบูรณาการ และการจัดการความรู้ “การวางผังบริเวณ อลงกรณ์ฟาร์ม จ.เพชรบุรี”

ที่มา : งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

…… คลิกเพื่ออ่านบทความ