ถ่ายทอดองค์ความรู้แบบโมเดล สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ในรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

? ผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
โดยให้นักศึกษาเลือกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ (สถาปัตยกรรมล้านนา) มาศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่ว่างทางสถาปัตยกรรม วิํธีการก่อสร้าง โดยนำเสนอในรูปแบบหุ่นจำลอง และการนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ถ่ายทอดองค์ความรู้การดำเนินงานในการส่งบทความ วารสารวิชาการออนไลน์ ในฐานข้อมูล THAIJO 2.0

 

การพัฒนาระบบงานวารสารออนไลน์ วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร (JFAD) ในฐานข้อมูล THAIJO 2.0

 

ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) ณ จังหวัดอำนาจเจริญ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร ร่วมกับ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการ Educational institute Support Activity (EISA) ได้นำอาจารย์และนักศึกษาจำนวน 19 คน นำองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโลโก้ และออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างตราสินค้า เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยการถอดแบบจากสิ่งที่มีอยู่ภายในชุมชนหรือพื้นที่ อาทิ การทำแม่พิมพ์สบู่ การทำพวงกุญแจเรซิ่น การทำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเมล็ดต้นตะแบก การทำสบู่สมุนไพรจากการแกะลวดลายจากธรรมชาติ การเพิ่มมูลค่าเศษผ้าขาวม้า ผ้าไหมทอมือ ในการทำปกวุฒิบัตร การผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเส้นด้ายหรือเส้นไหมเหลือทิ้งจากการแปรรูป การออกแบบตราโลโก้ แบรนด์ชฎาทิพย์ เพื่อใช้ในการจดทะเบียนตราสินค้า รวมถึงการวางผังบริเวณและสร้างโมเดลต้นแบบ แหล่งโบราณสถานเสมาพันปี ต.เปือย อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 13 พฤษภาคม 2565 ณ วิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย บ้านเสารีก และโรงเรียนอนุบาลลืออำนาจ (ชุมชนเปือยหัวดง) จ.อำนาจเจริญ