
Category: ข่าวสาร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นำโดย อาจารย์ธานี สุคนธะชาติ คณบดีคณะสถาปัตยฯ พร้อมด้วยอาจารย์และนักศึกษา เดินทางไปยังคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อบูรณาการแนวคิดการศึกษา สู่การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของทั้งสองคณะ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะทางด้านวิชาชีพ และเป็นการต่อยอดความรู้สู่การพัฒนายกระดับสินค้า OTOP และ ODOP นอกจากนั้นยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาของทั้ง 2 ประเทศ ในการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์เบื้องต้น ระหว่างวันที่ 21 – 22 กุมภาพันธ์ 2560 ณ.นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

กิจกรรม “การวางผังบริเวณ อลงกรณ์ฟาร์ม อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี”
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร ได้นำหลักการจัดการความรู้ในรูปแบบของกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่การเรียนการสอนในรูปแบบของการบูรณาการ กับกิจกรรม”การวางผังบริเวณ อลงกรณ์ฟาร์ม อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี” ถือเป็นหนึ่งในการประยุกต์ใช้โจทย์จากสถานที่จริง มาสู่รูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน ตลอดจนการลงพื้นที่จริงในชั้นตอนสุดท้ายของกิจกรรม เป็นการพัฒนาทักษะรอบด้าน ในกับตัวของนักศึกษา อาทิเช่น ด้านวิชาชีพ การสอบถามข้อมูลจากสถานที่จริง ตลอดจนทักษะในการนำเสนอแบบงานให้กับผู้ประกอบการจริง
โดยในทุกส่วนของการทำกิจกรรม ได้มีการนำ KM TOOL มาใช้ประกอบในการดำเนินงานของนักศึกษาไม่ว่าจะเป็น
- ชุมชนนักปฏิบัติ Community of practice
- การศึกษาดูงาน (Study tour)
- การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน : After action review
- การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ : Retrospect
- เวทีเสวนา : Dialogue
- การค้นหาสิ่งดีๆรอบๆตัว : Appreciative Inquiring
- เพื่อนช่วยเพื่อน : Peer Assist
- Action Learning การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
- Mentoring การเป็นพี่เลี้ยง
- บทเรียนจากความผิดพลาด : Lesson Learned
KM TOOL ที่นำมาใช้เหล่านี้ประกอบขึ้นมาเป็น กิจกรรมการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้หลักของการบูรณาการ และการจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มทักษะให้กับตัวนักศึกษาเพื่อก้าวสู่ความเป็นบัณฑิตมืออาชีพ

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติที่ดี “COP 3 ด้านการบริการวิชาการ”
นายธานี สุคนธะชาติ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ และนายศิรวัชร์ พัฒคุ้ม ได้เข้าร่วมในกิจกรรม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ” ใน COP 3 การบริการวิชาการ : แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง” ภายในการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ราชมงคล+2 มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้(Knowledge Management to Learning Organization : KM to LO ณ โรงแรมเอวัน เดอะ รอยัล ครูส พัทยา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา

คว้ารางวัลการประกวดโครงการการจัดการความรู้ ประจำปี 2560 ประเภท นักศึกษา “นวัตกรรมและเทคโนโลยีชุมชน”
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร โดยงานการจัดการความรู้ สถอ. ได้เตรียมทีมและจัดส่งนักศึกษาเข้าประกวดโครงการการจัดการความรู้ โดยนักศึกษาที่เข้าร่วม ดังนี้
- นายกวินท์ อิสสระวาณิชย์
- นายคมชาญ โชติวรอนันต์
- นางสาวชญานี แหยมเจริญ
โดยทีมนักศึกษาจากคณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร รับรางวัลเหรียญเงินในกลุ่มนักศึกษา เรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมชุมชนคู่บูรณาการความรู้สู่สังคมเพื่อสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนระหว่างประเทศบนพื้นฐานความพอเพียง” โดยมีผู้ให้คำปรึกษาในการดำเนินโครงการและเตรียมทีม ดังนี้
- นายธานี สุคนธะชาติ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตาร์และการออกแบบ
- นายศิรวัชร์ พัฒคุ้ม
โดยเข้าร่วมประกวด ในการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ราชมงคล+2 มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้(Knowledge Management to Learning Organization : KM to LO ณ โรงแรมเอวัน เดอะ รอยัล ครูส พัทยา จังหวัดชลบุรี
ภาพบรรยากาศ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติที่ดี “การพัฒนาและความร่วมมือทางด้านหลักสูตร”
งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว “ชุมชนนักปฏิบัติ (Cop)” โดยเป็นการแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “การพัฒนาและความร่วมมือทางด้านหลักสูตร” โดยมีการแลกเปลี่ยนในประเด็น
- การพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของสภาพเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน เพื่อการวางแผนรองรับอนาคตอุตสาหกรรม 4.0
- แนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางด้านหลักสูตรระหว่างประเทศ
โดยโครงการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 10.30 – 14.00 น. ณ ชื่นวารินรีสอร์ท จ.ระยอง
ภาพบรรยากาศ

เข้าร่วมการประกวด แนวทางการปฏิบัติที่ดีของนักศึกษา “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน”
งานการจัดการความรู้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้ส่งนักศึกษาเข้าประกวด. แนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษา ในหัวข้อ ” นวัตกรรมและเทคโนโลยีชุมชน” ในโครงการประชุมสัมมาเครือข่ายการจัดการความรู้ ครั้งที่ 9 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเนื้อหากล่าวได้ตือการพัฒนาเพื่อเศรษฐกิจที่ยั้งยืน เป็นการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตให้กับชุมชนโดยนำองค์ความรู้ของนักศึกษาขับเคลื่อน ในมิติของการสร้างสรรค์การออกแบบให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวยกระดับผลิตภัณฑ์ ชุมชนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้บรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนและนักศึกษาเพื่อให้ชุมชนสามารถขับเคลื่อนแบบพึ่งพาตนเองสู่เศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืนสืบไป
ทั้งนี้ ได้รับรางวัล ประเภทบทความดีเด่นเหรียญทอง ในหัวข้อ โครงการพัฒนานวัตกรรมชุมชนสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนดาวเรื่อง จังหวัดสระบุรี โดยมีนักศึกษาผู้นำเสนอ คือ
- นางสาวทวีทรัพย์ ปั้นอินทร์
- นายคมชาญ โชติวรอนันต์
- นายกวินท์ อิสสระวาณิชย์
ภาพบรรยากาศ